ปัญหา “เพลี้ยไฟ (Thrips)” ที่ระบาดอย่างรุนแรงในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น พริก มะเขือเทศ มะม่วง รวมทั้งพืชผักต่างๆ สารเคมีที่เคยใช้ควบคุมก็เริ่มไม่เห็นผล ทำให้เกษตรกรหลายคนต้องประสบปัญหาการผลิตลดลงและต้นทุนสูงขึ้น บทความนี้จะรวบรวมสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยไฟ พร้อมแนะนำวิธีการใช้ที่เหมาะสม

สารกำจัดเพลี้ยไฟ กลุ่มแม่ทัพ

สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูง ใช้ในกรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ต้องการควบคุมและหยุดการระบาดทันที

  • กลุ่ม 5 สไปนีโทแรม (Spinetoram) เช่น เอ็กซอล, สปินโนแซด (Spinosad)
  • กลุ่ม 13 คลอร์ฟีนาเพอร์ (Chlorfenapyr) เช่น แรมเพจ, แฟนทอม
  • กลุ่ม 18 เมทอกซีฟีโนไซด์ (Methoxyfenozide) เช่น โปรดีจี้, เพเซอร์
  • กลุ่ม 21 โทลเฟนไพเรด (Tolfenpyrad) เช่น ฮาชิ-ฮาชิ
  • กลุ่ม 23 สไปโรเตตราเมท (Spirotetramat) เช่น โมเวนโต้
  • กลุ่ม 28 ไซแอนทรานิลิโพรล (Cyantraniliprole), คลอแรนทรานิลิโพรล (Chlorantraniliprole) เช่น บีนีเวียร์
  • กลุ่ม 29 ฟลอนิคามิด (Flonicamid) เช่น เทปเปกิ

สารกำจัดเพลี้ยไฟ กลุ่มรอง

สารกลุ่มนี้เหมาะสำหรับใช้ในสภาวะปกติ หากยังควบคุมไม่ได้ จึงค่อยนำสารกลุ่มแม่ทัพมาเสริม

  • กลุ่ม 2B ฟิโพรนิล (Fipronil) เช่น แอสเซนด์
  • กลุ่ม 4A อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid) เช่น โปรวาโด, ไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam) เช่น แอคทารา, โคลไทอะนีดิน (Clothianidin) เช่น แดนทอซ, ไดโนทีฟูแรน (Dinotefuran) เช่น สตาร์เกิล, อะซีทามิพริด (Acetamiprid) เช่น โมแลน, ไทอะโคลพริด (Thiacloprid) เช่น อะแลนโต
  • กลุ่ม 6 อีมาเมคติน เบนโซเอท (Emamectin Benzoate)
  • กลุ่ม 9B ไพมีโทรซิน (Pymetrozine) เช่น เพลนัม
  • กลุ่ม 14 คาร์แทบ ไฮโดรคลอไรด์ (Cartap Hydrochloride)
  • กลุ่ม 15 คลอฟลูอะซูรอน (Chlorfluazuron) เช่น อาทาบรอน, ลูเฟนนูรอน (Lufenuron) เช่น แมทซ์, โนวาลูรอน (Novaluron) เช่น ไรมอน

สารกำจัดเพลี้ยไฟ กลุ่มพื้น (ตัวเสริม)

สารกลุ่มนี้ใช้เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช

  • กลุ่ม 1A คาร์โบซัลแฟน (Carbosulfan) เช่น พอสซ์, เบนฟูราคาร์บ (Benfuracarb) เช่น ออนคอล, เมทิโอคาร์บ (Methiocarb) เช่น อีลีท
  • กลุ่ม 1B อะซีเฟต (Acephate) เช่น ออทีน, คลอไพรีฟอส (Chlorpyrifos) เช่น ลอร์สแบน, พีรีมีฟอส-เมทิล (Pirimiphos-methyl) เช่น แอคเทลิค, ฟอสซาโลน (Phosalone) เช่น โซโลน
  • กลุ่ม 3A ไบเฟนทริน (Bifenthrin) เช่น ทาลสตาร์, เบต้าไซฟลูทริน (Beta-cyfluthrin) เช่น โฟลิเทค, ไซฮาโลทริน-แอล (Lambda-cyhalothrin) เช่น คาราเต้, เดลตาเมทริน (Deltamethrin) เช่น เดซีส, เฟนโพรพาทิน (Fenpropathrin) เช่น ดานิทอล

แนวทางการผสมสารเคมี

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยไฟ และลดการต้านทานสารเคมี ควรใช้สารในลักษณะผสม เช่น

  • กลุ่ม 28 + 4A
  • กลุ่ม 28 + 6
  • กลุ่ม 23 + 4A
  • กลุ่ม 22A + 6
  • กลุ่ม 22A + 16
  • กลุ่ม 18 + 5
  • กลุ่ม 16 + 3A
  • กลุ่ม 16 + 6
  • กลุ่ม 4A + 3A
  • กลุ่ม 4A + 6

สรุป

การจัดการเพลี้ยไฟอย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้สารกำจัดแมลงให้ถูกกลุ่มและถูกวิธี พร้อมทั้งใช้วิธีการผสมสารที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเกิดความต้านทาน และช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพสูงสุด