สับปะรด (Pineapple) เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ในปัจจุบันกลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจตัวนึงของไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น

อุตสาหกรรมสับปะรด และวิถีการตลาดสับปะรดไทย
- เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่จะขายสับปะรดสดให้แก่พ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูป
- พ่อค้ารวบรวมท้องถิ่น/สถาบันเกษตรกร ส่งผลสับปะรดสดไปยังโรงงานแปรรูปเป็นหลัก ผลผลิตอีกส่วนจะส่งไปยังตลาดกลางในกรุงเทพฯ เช่น ตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง เพื่อขายเป็นสับปะรดบริโภคผลสด
- โรงงานแปรรูป รับซื้อสับปะรดสดแล้วนํามาแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ประมาณร้อย ละ 90 – 95 ส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยโรงงานแปรรูปจะเป็นผู้กําหนดราคารับซื้อสับปะรดสด
- พ่อค้าตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดขายส่ง/ปลีกในจังหวัด เป็นแหล่งรองรับสับปะรดผลสดและจะทําหน้าที่เหมือนตลาดกลางเพื่อกระจายสับปะรดผลสดไปยังตลาดขายปลีกในจังหวัดต่างๆ

แหล่งปลูกสับปะรดในไทย
- จังหวัดอุตรดิตถ์
- จังหวัดลำปาง
- จังหวัดพิษณุโลก
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดเพชรบุรี
- จังหวัดชลบุรี
- จังหวัดระยอง
- จังหวัดฉะเชิงเทรา
- จังหวัดจันทบุรี
- จังหวัดตราด
- และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร

พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย
- พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา นิยมปลูกทั่วไป ผลใหญ่ ฉ่ำน้ำ เนื้อสีเหลืองอ่อน
- พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง
- พันธุ์ขาว/ดำ
- พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี นิยมปลูกทางภาคใต้ ใบมีแถบสีแดงที่ตอนกลางใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเล็กเปลือกหนาเนื้อสีเหลืองเข้ม หวานกรอบ
- พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง นิยมปลูกในจังหวัดเชียงราย ผลกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม รสหวานจัด
- พันธุ์ตราดสีทอง
- พันธุ์ภูแล
- พันธุ์ห้วยมุ่น
- พันธุ์เพชรบุรี ผลย่อยติดกันไม่แน่น แกะออกมารับประทานได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก แกนผลรับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว
ฤดูกาลของสับปะรด
- ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม และกลางเดือนเมษายน – กรกฎาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตมาก ในตลาดมีราคาถูก
- ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม – ตุลาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตน้อยจึงราคาแพง